สังเกตง่าย "ผลไม้ไม่หวาน" วางไว้กี่วันก็ไม่หวานขึ้น เหมาะเป็นมื้อเย็นที่สุด จริงหรือไม่ ทำ IF ทานไม่ครบ 3 มื้อ เสี่ยงเป็นโรคกระเพาะ?
ข่าวที่น่าสนใจ
Q : ถ้าคุณหมอจะแนะนำ คุณหมอบอกกว้าง ๆ มาว่า เลือก “ผลไม้ไม่หวาน” เช่น?
A : กล้วยเนี่ย คนคิดว่าเป็นผลไม้ที่ควรกินเยอะ ๆ มันมีคลิปแชร์มา กินกล้วยวันละผล จะอายุยืนขึ้น 1 ปี คนอยากอายุยืนขึ้น 10 ปี กินกล้วยวันละ 10 ผล เบาหวานมา คุมไม่อยู่ ไขมันเสีย น้ำตาลมันเยอะไป
Q : จริงมั้ย เอาเฉพาะกล้วยก่อนนะ พอมันเริ่มสุกนิด ๆ เนี่ย กินจะดีกว่าที่แบบมันงอม เพราะตรงนั้นน้ำตาลจะเยอะ?
A : ถูก ๆ อันนี้ถูก ตรงไปตรงมา แต่ว่ามันก็จะไม่อร่อย แต่เราอาจจะประยุกต์ เอาไปปิ้งก็ได้ ให้มันกินง่ายขึ้น แต่ว่าถ้าเราบอกยุ่งยาก เราก็เปลี่ยนไปกินอย่างอื่น ถ้าเราจะเอาแป้ง เช่น เรากินเผือก กินมันนึ่ง อย่างเงี้ยเราก็ได้เหมือนกัน บางคนกินข้าวแล้วอยากได้คาร์โบไฮเดรตประเภทอื่น ก็เปลี่ยนเป็นเผือก เป็นมันนึ่ง ฟักทองนึ่ง ให้มันหลากหลายเข้าไว้
Q : อย่าง “ผลไม้ไม่หวาน” เนี่ย คุณหมอจะแนะนำอะไรบ้าง?
A : เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล สาลี่ แก้วมังกร มีหลักสังเกต วางไว้กี่วัน ๆ มันก็จะไม่หวานขึ้น สุกมันก็ไม่หวานเจี๊ยบ เพียงแต่มันไม่ฝาด แต่กล้วยเนี่ย ระหว่างกล้วยดิบกับกล้วยสุก มันคนละเรื่อง
Q : ผลไม้เนี่ย ที่บอกว่ากินผลไม้ก่อนนอนเนี่ย ตกลงมันดีหรือไม่ดี สมมติว่ากินประเภทที่แบบ “ผลไม้ไม่หวาน” นะที่คุณหมอบอก แต่กินก่อนนอน?
A : ใช้เป็นอาหารมื้อเย็นได้ดี เพราะว่าส่วนใหญ่ตอนเนี้เรามักจะน้ำหนักตัวเกิน ไขมันเสีย ใช้เป็นตัวตัดน้ำหนัก ตัดแคลอรี่ออก ทำให้ไขมันไม่เสีย อันนี้ดี เป็นมื้อเย็น เพราะมื้อเย็นเนี่ย เป็นมื้อที่เราไม่ต้องการพลังงานเยอะแล้ว เพราะกลางคืนเราใช้น้อย ก็เป็นกลยุทธ์อันนึง เป็นอาหารมื้อเย็น ไม่ต้องกินแป้ง ไม่ต้องกินโปรตีนอย่าง เงี้ย เพราะว่าเราเป็นโรคโปรตีนเกิน เป็นโรคที่คาร์โบไฮเดรตเกิน โรคไขมันเกิน กินผลไม้มันไม่มีไขมัน พอเป็นผลไม้ที่ไม่หวาน มันก็มีแต่แป้ง ซึ่งไม่เยอะ น้ำตาลก็ไม่มี โปรตีนก็แทบไม่มีเลย มันก็ไปตัดหมู่เกินออก
Q : มันมีอีกเรื่องนึงที่ตอนนี้คนเขาฮิตกันมากเลย ที่เค้าเรียก IF 8 ชม.กินให้เต็มที่เลย 16 ชม.ไม่กินละ แล้วก็มาเริ่มต้นใหม่กิน 8 ชม. ตกลงแล้วมันถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง?
A : ถูกฮะ เป็นอาหารแนวพระ เอาจริง ๆ นะ อาหารแนวพระไง กินเช้า กินเพล จบ
“แต่ว่าใน 8 ชม. ที่กินเนี่ย ก็ต้องตามหลักอย่างที่คุณหมอบอกมาตอนแรกนี้ด้วยนะ ไม่ใช่ 8 ชม. เนี่ย โอ้โห ซัดไขมัน น้ำตาลเต็มที่ กินเผื่อวันรุ่งขึ้นเลย”
Q : คำว่า 8 ชม. เนี่ย ที่ดีที่สุดมันควรจะเริ่มตั้งแต่เวลาไหนถึงไหน?
A : เอาตามไลฟ์สไตล์นั่นแหละ เราก็กินข้าวเช้า 7 โมงเช้า 8 โมงเช้า แล้วก็ไปจบที่เที่ยง ทีนี้บางคนเนี่ย พอช่วงว่างมันนานเกินเนี่ย อาจจะหิวเกิน อาจจะไปกินบ่าย บ่ายสองก็ได้ การกินอาหาร 2 มื้อ ก็ถือว่าทำให้โอกาสของลำไส้ได้พัก การย่อยได้พัก พอลำไส้พัก อวัยวะอื่นมันพักตามอ่ะ ตับ ไต พักตามหมดเลย คือให้ช่วงมันมีโอกาส rehealing อ่ะ มีโอกาสซ่อมตัวเองยาว ๆ แต่ว่าข้อสำคัญการทำ IF เนี่ย เค้ามุ่งเน้นก็คือ 1. ลดน้ำหนัก แต่ว่าสิ่งที่ได้ตามมาจากการลดน้ำหนัก ไขมันก็จะดีขึ้น เบาหวานก็จะดีขึ้น โรค การฟื้นฟูต่าง ๆ เนี่ยมันจะดีขึ้น เพราะมันลดภาระร่างกายลง ถือเป็นสิ่งที่ดี
Q : มันขัดกับความเชื่อเดิม ๆ มั้ยว่า ถ้ากินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ พอช่วงไหนที่ไม่กิน กระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยออกมา ที่สุดแล้วคุณก็จะเป็นโรคกระเพาะ มันขัดกับหลัก IF ไหม?
A : อันเนี้ย หลักที่คุณธีระพูดน่ะ คือหลักที่ผิด มนุษย์ไม่จำเป็นต้องกิน 3 มื้อ แล้วก็มื้อไหนไม่กิน กรดไม่ได้ออกมากัดกระเพาะ มันไม่ได้ออก กรดมันไม่ได้ตั้งเวลาออก เช้า เที่ยง เย็น มันออกมาเพื่อจะย่อยอาหาร
Q : แล้วโรคกระเพาะเกิดจากอะไร?
A : โรคกระเพาะเกิดจากความเครียดเป็นหลัก เราไม่ต้องกินอาหาร 3 มื้อ กินตามความจำเป็น แล้วก็ความเครียดเนี่ยมันกระตุ้นให้กรดหลั่ง แล้วทำให้ทางเดินอาหารเนี่ยอักเสบ มันเครียดเกิดการอักเสบขึ้น แล้วกรดที่ออกมาก็จะไปโจมตีกัดกร่อนจนเป็นแผล มันคนละเรื่องกัน
“โรคกระเพาะเกิดจากความเครียด ความเครียดเป็นตัวนำเลย พอเครียดแล้วมันหลั่งกรด ไม่ต้องกินอะไรออกเลย แม้คุณจะกินอาหารครบ 3 มื้อก็ตาม แต่ถ้าเครียดเป็นโรคกระเพาะได้”
ไม่ใช่เพราะว่ากินอาหารไม่ตรงเวลา ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพ่อแม่ที่หวังดีกับลูก ครูอาจารย์ก็จะสอนแบบเนี้ย กินอาหารให้ตรงมื้อ ถึงเวลามื้อต้องกิน คนก็เลยต้องจำถึงมื้อไม่หิวก็ต้องกิน ทั้ง ๆ ที่มันโอเวอร์มาแล้วก็ยังต้องกินอีก เพราะกลัวโรคกระเพาะ อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด
Q : 3 อย่าง อาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย อะไรสำคัญที่สุด?
A : เค้าเรียกว่ามันต้องไปด้วยกัน แต่ว่าคือ บางคนเนี่ยอาจจะเด่นเรื่องอาหาร ออกกำลังกายอาจจะไม่ไม่ค่อยได้ แต่ว่าไม่เครียด อันนี้ก็เอาตัวรอดได้ เพราะว่าคุณกินอาหารไม่เกิน คุณก็ไม่ต้องไปเผาทิ้ง กิจวัตรประจำวัน เดินไปเดินมา ยกนู่นบ้าง ทำนี่บ้าง มันก็พอ Maintenance กล้ามเนื้อไว้ได้ ไม่ถึงกล้ามเนื้อฝ่อ แต่ว่าถ้าเรากินอาหารเกิน แล้วเราไปเผาทิ้ง มันก็แก้ส่วนเกินได้ แต่ว่าเรื่องการพักผ่อนเนี่ย เป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเราต้องซ่อมแซมตัวเอง อันนี้บังคับ เพราะฉะนั้นคนที่ปล่อยวางเร็ว ไม่เก็บความเครียด พวกนี้ก็จะหลับง่าย พวกนี้ก็จะไม่ค่อยเป็นโรค
Q : ส่วนมากคนเราเนี่ยนะที่มันเกิดโรคเนี่ย อาหาร พักผ่อน ออกกำลังกาย มันเกิดจากสาเหตุอะไรมากที่สุด?
A : เอาวิถีคนปัจจุบันแล้วกันนะ ทั้ง 3 อย่างเลย ชีวิตประจำวัน 3 อย่าง เครียด ทำงานไม่ทัน เพื่อนมันแทงข้างหลังอีก กลางคืนกลับไปนอนไม่หลับ ก่อนจะนอนก็เลยอัดซะเต็มเลย กินแก้เครียด มันมาหมดอ่ะ ส่วนใหญ่มันจะผิดเป็นชุด 3 อย่างนี่เลย คอมโบ้เซตเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง