“อดีตอัยการสูงสุด” ย้ำไม่เคยมีอสส.กล้ากลับคำฟ้องคดีเดิม ยกเคสเห็นภาพชัด

"อดีตอัยการสูงสุด" ย้ำไม่เคยมีอสส.กล้ากลับคำฟ้องคดีเดิม ยกเคสเห็นภาพชัด

อดีตอัยการสูงสุด” ย้ำไม่เคยมีอสส.กล้ากลับคำฟ้องคดีเดิม ยกเคสเห็นภาพชัด

จากกรณีเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 67 นายประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นายวิพุธ บุญประสาท อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 และ นายนาเคนทร์ ทองไพรวัลย์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมแถลงคดี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ถูกกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

โดยคดีนี้นายทักษิณ ถูกกล่าวหาว่าทำผิดมาตรา 112 รับสำนวนการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น ร่วมกันแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท และการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เป็นเหตุการณ์เมื่อ วันที่ 11 พ.ค. 2558 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ และประเทศไทยเกี่ยวพันกัน เป็นคดีทำความผิดนอกราชอาณาจักรเป็นคดีในความรับผิดชอบของอสส. โดยอัยการสูงสุดเห็นควรสั่งฟ้องนายทักษิณ ทุกข้อกล่าวหา เมื่อนายทักษิณ กลับมา แล้วถูกควบคุมตัวด้วยคดีอื่น

ต่อมา อัยการได้แจ้งข้อหา นายทักษิณให้การปฏิเสธ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจากอัยการสูงสุด และมีคำสั่งสอบสวนเพิ่มเติมทุกประเด็น ล่าสุดสอบสวนครบถ้วนแล้ว ได้ส่งกลับมาให้อัยการสูงสุด และมีคำสั่ง 27 พ.ค.2567 สั่งฟ้อง ร่วมกันหมิ่นประมาทฯ ตามมาตรา 112 และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ตอนนี้ยังยื่นฟ้องไม่ได้ ขอเลื่อน เป็น 25 มิ.ย. 2567 โดยระบุว่าติดโควิด ทางพนักงานอัยการที่ได้รับมอบพิจารณาคำร้องแล้ว เห็นว่าเหตุขอเลื่อนเนื่องจากติดโควิด โดยแพทย์ให้พักสังเกตอาการได้ถึงวันที่ 3 มิ.ย. 67 จึงอนุญาตให้เลื่อนเป็นวันที่ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.00 น.

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด นายตระกูล วินิจนัยภาค อดีตอัยการสูงสุด โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก”ตระกูล วินิจนัยภาค” ระบุว่า ผมอาจจะผิดก็ได้นะครับ แต่เท่าที่ทราบและพอจำได้ก็ คือ ยังไม่เคยมีอัยการสูงสุดคนไหน กล้าที่จะกลับคำสั่งฟ้อง ในคำสั่งฟ้องที่อัยการสูงสุดคนเดิม..เคยสั่งฟ้องไว้

อาจจะมี ก็เป็นกรณีที่รองอัยการสูงสุด รักษาราชการแทนอัยการสูงสุด สั่งไม่ฟ้องในคดีบอส

ส่วนกรณีการถอนฟ้อง (ในชั้นศาล)โดยอัยการสูงสุด มีการถอนฟ้องได้จริง เพราะเป็นกรณีที่อัยการ (ที่ไม่ใช่อัยการสูงสุด) เคยสั่งฟ้องไว้ เช่น ดูรายละเอียดใน comment

 

ซึ่งเมื่อวันที่ 20 ก.ค.58 นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงผลการตรวจสอบกรณีพระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย และนางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ (มปปท.) ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกรณี นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด (อสส.) ในเวลานั้นที่มีคำสั่งถอนฟ้องคดีที่พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถูกฟ้องคดีต่อศาลอาญา ในความผิดเกี่ยวกับการลงชื่อตนเองเป็นเจ้าของในการซื้อขายที่ดิน เมื่อปี 2549 และกรณีผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ในฐานเลขาธิการมหาเถรสมาคม ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโย ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช โดยผู้ตรวจฯพิจารณาแล้วเห็นว่า การลงชื่อซื้อขายที่ดินในนามตนเอง ของพระธัมมชโยนั้น เข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2535 ที่กำหนดว่าหากเป็นทรัพย์สินของวัดจะต้องมีการลงทะเบียนของวัดไว้เป็นหลักฐาน ว่าเป็นทรัพย์สินของวัด แม้ต่อมาพระธัมมชโยจะมีการคืนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นของวัดแต่ก็ล่วงเลยไปถึง 7 ปี

“ถือว่าการกระทำของพระธัมมชโยครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฐานทุจริต ผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 147 และ157 แม้ภายหลังจะมีการคืนทรัพย์สินให้วัด ก็เป็นเพียงการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดเท่านั้น ไม่อาจถือว่าทำให้การกระทำที่เป็นความผิดอาญาซึ่งสำเร็จไปแล้วกลายเป็นไม่มีความผิด ดังนั้น ในประเด็นนี้ผู้ตรวจจึงมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้พิจารณาตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานพิจารณาว่าการที่นายพชร มีคำสั่งให้ถอนฟ้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” เลขาธิการผู้ตรวจฯ กล่าว

 

เลขาธิการผู้ตรวจฯ กล่าวว่า ในส่วนของสำนักพระพุทธศาสนานั้น หลังจากสมเด็จพระสังฆราชมีพระลิขิต ฉบับลงวันที่ 26 เม.ย., 1 พ.ค. และ 10 พ.ค. 2542 ที่ระบุว่าพระธัมมชโยควรคืนทรัพย์สินให้วัด ซึ่งจะไม่ถือว่ามีโทษเพราะอาจไม่มีเจตนา และหากไม่ยอมคืนทรัพย์สินดังกล่าว จะถือได้ว่าจงใจเอาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของตัวเอง ซึ่งถือได้ว่าพระธัมมชโยย่อมไม่เป็นสมณะ ย่อมต้องอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระภิกษุ ซึ่งพระลิขิตดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระลิขิตดังกล่าว แต่ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาไม่ได้ดำเนินการตามพระลิขิต จึงถือได้ว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาละเลย ไม่ใส่ใจต่อการประพฤติผิดพระธรรมวินัยของพระสงฆ์บางรูป ผู้ตรวจฯจึงมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เพื่อให้ขอให้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 มาตรา 44 ตั้งคณะกรรมการร่วมสองฝ่าย ประกอบด้วยฝ่ายคฤหัสถ์และบรรพชิต เช่น พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมหาเถรสมาคม ผู้แทนจากสำนักงานพระพุทธศาสนา ผู้แทนจากสนช.และสปช. ผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น เพื่อศึกษาประเด็นทางพระธรรมวินัยที่ยังไม่ได้ข้อยุติ และพระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชหรือไม่

“ในมุมของผู้ตรวจการแผ่นดิน จากการสืบพยานหลักฐาน รวมถึงพยานหลักฐานในชั้นศาลเห็นตรงกันว่า การที่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายลงชื่อตนเองในการซื้อขายที่ดิน เพื่อให้ทรัพย์สินตกเป็นของตนเอง ซึ่งที่ดูจากพระลิขิตพระสังฆราชฉบับวันที่ 26 เม.ย. 42 หากแปลเป็นภาษาชาวบ้านก็เหมือนว่า ถ้าพระธัมมชโยคืนทรัพย์นั้นเป็นของวัดเสียแต่ตอนนั้นก็จะไม่มีการเอาผิด แต่กลับไม่มีการคืน สมเด็จพระสังฆราชก็มีพระลิขิตฉบับต่อๆ มาอีก พระราชรัตนมงคล ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ก็ได้แจ้งพระลิขิตนี้ไปยังมหาเถรสมาคม โดยระบุว่าเป็นพระวินิจฉัยของสมเด็จพระสังฆราช มหาเถรสมาคมย่อมต้องสนองพระลิขิต แต่จากข้อเท็จจริงผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และสำนักพระพุทธศาสนาฯ ซึ่งทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ยังไม่ได้สนองงานตามพระบัญชาและพระกรณียกิจของสมเด็จพระสังฆราช หรือดำเนินการ ประสานงานกับคณะสงฆ์ในการลงนิคหกรรม ตรวจตราถวายคำแนะนำแก่พระเถรชั้นผู้ใหญ่ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในมหาเถรสมาคมให้สนองต่อพระวินิจฉัยของสมเด็จพระสังฆราช ซ้ำท้ายที่สุดมติมหาเถรสมาคมที่ออกมากลายเป็นว่า พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระดำริ ทั้งที่ถ้ายึดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พระลิขิต ที่เป็นพระวินิจฉัยมีผลผูกพันตามกฎหมาย พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิก แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจดำเนินการด้วยตัวเองจึงต้องเสนอเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องดังกล่าวต่อไป” เลขาธิการผู้ตรวจฯ กล่าว

นายรักษเกชากล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นที่ขอให้ตรวจสอบมหาเถรสมาคมที่มีมติว่าเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโยไม่เป็นไปตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชนั้น เห็นว่ากรณีร้องเรียนดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ในฐานะพระสังฆธิการในการพิจารณาวินิจฉัยในกิจการของคณะสงฆ์ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2535 จึงไม่ใช่เรื่องร้องเรียน อันเนื่องมาจากการกระทำทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจบริหารที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเข้าไปมีอำนาจพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น