ไทยชนะ!! วิกฤตโควิดจากที่ต้องเลือกคนรอด สู่วันที่เตียงว่างในรพ.

จากที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์โควิด 19 ประจำวันที่ 14 ก.ย. ว่า ประเทศไทยติดเชื้อใหม่ 11,786 ราย สะสม 1,406,542 ราย หายป่วย 14,738 ราย สะสม 1,262,896 ราย เสียชีวิต 136 ราย สะสม 14,621 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 129,025 ราย อยู่ใน รพ. 37,283 ราย รพ.สนามและอื่นๆ 91,742 ราย มีอาการหนัก 4,080 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 818 ราย

 

ยอดฉีดวัคซีน มีผู้ฉีดรวมทั้งสิ้น 40,953,025 โดส แบ่งเป็นผู้ที่ได้ฉีดเข็มแรกแล้ว 27,540,743 ราย ,เข็มที่สอง 12,795,707 ราย และบูสเตอร์เข็มสาม 616,575 ราย  โดยยอดการฉีดใน 1 วัน ศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ สามารถฉีดวัคซีนได้ถึง 676,669 โดส แบ่งเป็นผู้ฉีดเข็มแรก 237,043 ราย ,เข็มสอง 438,126 ราย และเข็ม 3 จำนวน 1,500 ราย

 

ต้องถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ ผู้เสียชีวิต ลดลงอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งประเทศไทยเราเคยผ่านตัวเลขสูงสุดเมื่อวันที่ 13 ส.ค.64 มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 23,418 ราย ผู้เสียชีวิต 184 ราย ผู้หายป่วย 20,083 ราย ผู้ป่วยอาการหนัก 5,565 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,111 ราย

นอกจากนั้นแล้ว เรายังมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด ในวันที่ 18 ส.ค.64  ซึ่งศบค.ได้รายงานผู้ติดเชื้อ จำนวน 20,515 ราย เสียชีวิตสูงสุดจำวน 312 คน  ผู้หายป่วยแซงผู้ป่วยรายใหม่ที่ 22,682 ราย ผู้ป่วยหนัก 5,458 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,155 ราย  ซึ่งจากตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สูงสุดนี้ได้สัมพันธ์กับตัวเลขผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจวันที่ 15 ส.ค.64 ที่มีผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจสูงที่สุดคือ 1,172 ราย ซึ่งถือว่าเต็มแม็กซ์ที่สุดแล้วสำหรับเครื่องช่วยหายใจจากโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ  แต่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยอาการหนักที่มีตัวเลขหลัก 5 พันกว่าคน ในทุกๆวัน

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานทรัพย์ราว 2.8 พันล้านบาท เพื่อสมทบทุนและจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลและสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 ก.ค. 2564  พระราชทานโรงพยาบาล  ในจำนวนนี้ รวมพระราชทาน  เครื่องช่วยหายใจ 200 เครื่อง เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญานชีพ. (ICU Monitor) 28 ชุด , เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอล 1 เครื่อง เป็นต้น

ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่ติดต่อกันง่ายและไม่แสดงอาการ ทำให้เชื้อลงปอดได้รวดเร็ว แต่ด้วยมาตรการที่รัฐบาลล็อกดาวน์กว่า 50 วัน ตั้งแต่ 12 ก.ค.-31 ส.ค.64  ปิดพื้นที่ให้คนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก และลดการเคลื่อนย้ายคน ผนวกกับ การเร่งระดมฉีดวัคซีน มาตรการเชิงรุก การตรวจคัดกรองผู้ป่วย แยกกักและการแจกจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ก็ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตรายใหม่ลดลง สอดคล้องกับบทวิเคราะห์สถานการณ์จาก แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่คาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ ช่วงต้นเดือนกันยายน จะเห็น New Cases ที่ต่ำกว่าหมื่น ที่ Wave ขาดลงของโควิดสายพันธุ์เดลต้า ของไทย ไม่ต่างจากอินเดีย ขณะนี้เรากำลังลงจากเนินสูงสุดและจะต่ำกว่าหมื่น ในช่วงต้นถึงกลางเดือนกันยายน และก็จะลดต่ำลงไม่ถึง 5 พันคน ในอีก 2 สัปดาห์ถัดมา

 

ซึ่งหากประเมินตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวัน กับ ตัวเลขคาดการณ์จากกราฟของแพทยสมาคม ก็ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ตรงกัน แต่ถ้าจะเห็นภาพชัดเจนที่สุดก็คงต้องเป็นสถานการณ์ที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ที่เคยรับผู้ป่วยโควิดสูงสุดจนล้นเกินศักยภาพ  ถึงขนาดที่โรงพยาบาลต้องประกาศหลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์การพิจารณาไม่ใส่ “ท่อช่วยหายใจ” (Withholding Intubation) สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564

นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผอ.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต่อว่า ทรัพยากรภายในโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้อง ICU มีความจำกัดเป็นอย่างมาก เราไม่สามารถรับผู้ป่วยได้หากห้อง ICU ยังคงมีผู้ป่วยนอนอยู่ ถือว่าเป็นวิกฤตทางการแพทย์ ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ที่เผชิญวิกฤตผู้ป่วยล้นเต็ม ที่อื่นต่างประสบปัญหาแบบเดียวกัน

 

การที่เราให้ผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลได้โดยที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ เป็นปัญหาที่หนักขึ้น หากเรามีผู้ป่วยที่จะรอเข้าโรงพยาบาล 20 คน โดยที่เรามีเตียง ICU จำนวน 8 เตียง ไม่มีทางที่เราจะไม่ตัดสินใจใด ๆ เช่น หากเราบอกว่าใครมาก่อนได้ก่อน คงเป็นปัญหาในเรื่องของการจัดการ ในระหว่างที่รอแล้วใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่นอกห้อง ICU รองรับ ก็ไม่มีทางที่จะทำให้การดูแลรักษานั้นดีขึ้นแน่นอน ในแนวทางทั้งหมดคงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องเตียงเต็มและเตียงล้นได้ในปัจจุบัน

 

แต่จะสามารถแก้ไขสิ่งที่เป็นวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยยังจะมีศักดิ์ศรีมีการได้รับการดูแลบางอย่างจากทางโรงพยาบาล ไม่อย่างนั้นเราก็คงต้องปฏิเสธคนไข้ และจะมีคนไข้นอนอยู่นอกโรงพยาบาล หรือปฏิเสธง่ายที่สุดคือไม่รับเข้ามาภายในโรงพยาบาล ให้ผู้ป่วยอยู่บ้านแล้วเสียชีวิต ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีของทุกท่าน หากมีผู้เสียชีวิตอยู่ข้างถนน มีผู้เดินทางมาร้องขอกับทางโรงพยาบาล นั่งหลังรถกระบะมา ที่ผ่านมาเราบอกได้แต่เพียงว่าเตียงเต็ม ท่านก็ต้องไปหาโรงพยาบาลอื่น ๆ เอง ตรงนี้ถือว่าเป็นความเจ็บปวดของวงการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในการที่ไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยเหล่านี้ได้เลย

 

หากเรามองย้อนกลับไปช่วงเวลานั้น ภาพที่ยังจำติดตาคือ ผู้ป่วยที่นอนเสียชีวิตกลางถนน ริมถนน รวมถึงเสียชีวิตในบ้านพักอีกจำนวนหนึ่ง แต่ที่สุดแล้วด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยที่อดทน พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลจนฝ่าฟันวิกฤตมาได้

 

ซึ่งในวันที่ 13 ก.ย.64 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้โพสต์รายงานความคืบหน้าถึงสถานการณ์โควิดว่า สถานการณ์ตอนนี้ทิศทางดีขึ้น ผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวในโรงพยาบาลเหลือ 65 ราย จากเตียง 100 เตียง  ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนักสีแดง 28 ราย โดยเป็นผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ Tube รวม 13 ราย  ส่วนโรงพยาบาลสนามนั้นยังมีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ 148 คน จากจำนวนเตียง 470 เตียง  ส่วนผู้ป่วยที่อาการสีเหลืองก็จะส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลัก ส่วนโรงพยาบาลสนาม ก็จะพิจารณาลดเตียงเหลือ 200 เตียง  ไว้รองรับผู้ป่วยอาการสีเขียว  ส่วนผู้ป่วยที่เข้าระบบ Home Isolation ที่รับรักษาตัวเข้าระบบ 2,274 คน ขณะนี้รักษาหายแล้ว 2.158 ราย คงเหลือผู้ป่วย 116 คน

ซึ่งทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ยังได้วิเคราะห์เพื่อประเมินสถานการณ์ว่า  โควิดกำลังเป็นช่วงขาลงอยู่ และคงจะจบภายในสัปดาห์หรือสองสัปดาห์จากนี้ โดยจะยังคงมีจำนวนผู้ป่วยใหม่รายวันหลักเกือบหมื่นอยู่ทุกวันและจากนั้น จะทรงตัวอยู่แถวๆตัวเลขนี้ไประยะหนึ่ง  หลังจากนั้นกราฟจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะเริ่มผงกหัวขึ้น ซึ่งก็จะเป็นสัญลักษณ์ของเวฟที่ 5 แต่ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะยืนยันว่า จะไม่เกิดเวฟ5 อีกแล้ว ในเมื่อการระบาดของสายพันธ์เดลต้ายังรุนแรงเหมือนเดิม และเรามีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่ทำให้มีการพบปะสมาคมของผู้คนแวดวงต่าง ๆ มากยิ่งกว่าในเดือนที่แล้วหลายเท่าหรือหลายสิบเท่า เพียงแต่ว่า เวฟ5 ที่พวกเราคาดว่าจะมานั้น แม้ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่รายวันมากกว่าเวฟ 4 อย่างน้อยสักสองเท่า แต่จำนวนผู้เสียชีวิตรายวันก็น่าจะลดลงกว่าเวฟ 4 และน่าจะอยู่แถวๆที่ต่ำกว่า 100 คน/วัน ได้ เพราะเรามีการเข้าถึงยาต้านไวรัสได้เร็วขึ้นและมีมากเพียงพอ ขณะที่ early  detection ของเราก็ดีกว่าระบบที่เป็นมาเมื่อ 3 เดือนก่อนเป็นอย่างมาก   เพราะฉะนั้น ถึงแม้เราจะต้องเผชิญกับเวฟ5 ที่มีผู้ป่วยใหม่รายวันมากขึ้น แต่ก็คงไม่น่ากลัวมากนักในเชิงจำนวนคนที่เสียชีวิต

ถึงแม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนได้ถึงเป้า 70% ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ติดเชื้อแต่ช่วยลดความรุนแรงการคลายล็อกก็เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า ประเทศชาติต้องไปต่อ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประชาชนที่ต้องเข้มในเรื่องการเฝ้าระวังตัวตามมาตรการ D M H T T ที่จะทำให้เราอยู่กับโรคนี้ได้อย่างไม่ประมาทต่อไป

 

กองบรรณาธิการข่าว TOPNEWS

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มเจ้าของบริษัท ผวา พบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิดซุกซ่อนอยู่ใต้ท้องรถยนต์เก๋ง
แนะยุบ กกต.ทิ้ง เทพไท แฉ เลือกตั้ง อบจ.เมืองคอนซื้อเสียงเปิด เผย โวย กกต.นั่งดูตาปริบๆ แนะยุบทิ้งดีกว่ามั้ย
"เชน ธนา" พาสื่อทัวร์โกดัง ยันสินค้าอยู่ครบ ไม่ได้แอบขายเอาเงินไปใช้ตามข่าว ย้ำชัดไม่ได้โกงคู่กรณี
ตร.จ่อเรียก “เอก สายไหมฯ” สอบอีกครั้ง หลังให้การขัดแย้งพยาน
"สปป.ลาว" ออกแถลงการณ์ "เสียใจสุดซึ้ง" ปม นทท.เสียชีวิตดื่มเหล้าเถื่อน ยันเร่งนำตัวคนร้ายมาลงโทษ
บุกจับ ! พ่อค้ายากระโดดระเบียง สูงกว่า 2.5 เมตร หนี คิดว่าจะหนีรอด เพราะ ปลัดหน้าไม่โหด
ไฟไหม้ ! ร้านกาแฟวอดหมดทั้งหลัง เจ้าหน้าที่คาดสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรมูลค่าความเสียหายกว่า 700,000 บาท
ทั้งเจ็บ ทั้งจำ หนุ่ม เบญจเพสซวยสองเด้ง ถูกวัยรุ่นทำร้าย ถูกจับพกยาไอซ์ซ้ำ
หนุ่มจิตเวชคลั่ง จุดไฟ-ถือมีดขู่ชาวบ้าน ตำรวจกู้ภัยระงับเหตุทันควัน
ดุเดือดทิ้งทวน.. 2 ตัวเต็งผู้สมัครนายก อบจ.เมืองคอน เปิดเวทีประชันปราศรัยหาเสียงห่างกันแค่ 300 เมตร คนนับหมื่นแห่ลุ้นเชียร์ทั้งสองฝ่าย -"เทพไท"ออกโรงแฉวงจรอุบาทว์จดชื่อซื้อเสียงรายหัว- ชี้หาฝ่ายชื่อเสียงชนะเลือกตั้ง สรุปว่า"กระสุนชนะกระแส" /จวกยับ กกต.มีไว้ทำไม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น