“ภูมิธรรม” ปลื้มผลประมูลข้าว 10 ปี เอกชนดันราคาสูง 19,070 บาทต่อตัน

"ภูมิธรรม" ปลื้มผลประมูลข้าว 10 ปี เอกชนดันราคาสูง 19,070 บาทต่อตัน

“ภูมิธรรม” ปลื้มผลประมูลข้าว 10 ปี เอกชนดันราคาสูง 19,070 บาทต่อตัน    Top News รายงาน 

 

 

ข้าว 10 ปี

 

วันที่ 17 มิถุนายน 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการยื่นซองเสนอราคาประมูลข้าวของทั้ง 2 โกดัง ตามประกาศเรื่องการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเป็นการทั่วไปครั้งที่ 1/ 2567 ที่องค์การคลังสินค้าในวันนี้ โดยมีผู้ยื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวในคลังทั้ง 2 หลัง จำนวน 6 รายจาก ผู้ผ่านคุณสมบัติจำนวน 7 ราย และได้ปิดยื่นการประมูลไปเมื่อเวลา 12.00 น.ที่ผ่านมา

 

 

 

 

โดยผลการเปิดซองประมูลเบื้องต้น สำหรับ คลังสินค้ากิตติชัยหลัง 2 และที่คลังสินค้า บจก.พูลผลเทรดดิ้ง หลัง 4 ผู้ยื่นซองเสนอราคาสูงสุดทั้ง 2 คลัง คือ บริษัท วีเอท อินเตอร์เทรดดิ้ง จังหวัดกำแพงเพรช เสนอซื้อที่ราคา 19,070 บาท/ตัน

 

ซึ่งราคาเฉลี่ยข้าวสารหอมมะลิที่เมื่อปี 57 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 29,637 บาท/ตัน และปีที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 28,937 บาท/ตัน ถือว่าไม่ได้แตกต่างจากราคาข้าวที่ประมูลในครั้งนี้มากนัก แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเชื่อมั่นคุณภาพ มาตรฐานในการเก็บรักษาข้าวในคลังสินค้าของรัฐ

 

 

 

หลังจากนี้จะมีการต่อรองเพิ่มราคาให้สูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศสูงสุด โดยจะดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วและคณะกรรมการจะสรุปผลการประมูลเสนอผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า เพื่ออนุมัติและแจ้งผู้ชนะการประมูลเพื่อมาทำสัญญาซื้อ-ขายกับองค์การคลังสินค้า และชำระเงินมอบข้าวสาร โดยองค์การคลังสินค้าได้กำหนดระยะเวลาขนย้ายให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังการเซ็นสัญญา

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับท่านที่สงสัยว่าจะเอาข้าวไปไหนและจะกระทบกับอุตสาหกรรมข้าวในภาพรวม หรือไม่ ขอชี้แจงว่าไม่กระทบเนื่องจากข้าวหอมมะลิฤดูกาลใหม่ยังไม่ออก จะให้ผลผลิตในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่นอกฤดูกาลและปริมาณข้าวสารในการประมูลครั้งนี้ถือว่าไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ไทยส่งออกกว่า 8,000,000 ตันต่อปี และข้าวหอมมะลิที่ประมูลในครั้งนี้ได้ผ่านการตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งด้านกายภาพและคุณภาพไม่พบสารก่อมะเร็งไม่มีสารรมยาตกค้างมีคุณภาพทางโภชนาการ

 

 

สำหรับกรณีที่ ผู้ชนะการประมูลจะนำไปส่งออกจะต้องทำการปรับปรุงคุณภาพข้าวให้ได้ตามมาตรฐาน ข้าวหอมมะลิของกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานไว้ และสำหรับการจำหน่ายในประเทศก็จะต้องผ่านมาตรฐานของกรมการค้าภายในและยังมีหน่วยงาน ตรวจสอบ เช่น อย. เป็นต้น

 

 

 

ซึ่งผลจากการดำเนินการครั้งนี้จะทำให้มีรายได้เข้ารัฐไม่น้อยกว่า กว่า 286 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีการบริหารข้าวอย่างเป็นมาตรฐาน ตั้งแต่การปลูก การเลือกเมล็ดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การขัด การสีข้าวและการปรับปรุงคุณภาพ สามารถเชื่อมั่นในคุณภาพข้าวไทยได้

 

โดยมีบริษัทที่มายื่นซอง 6 ราย หลังจากเปิดซอง พบว่าข้าวในคลังสินค้า บริษัท พูนผลเทรดดิ้ง จำกัด หลังที่ 4 ประมาณข้าวรวม 3,356 ตัน มีผู้ยื่นซองเสนอซื้อครบทั้ง 6 ราย ได้แก่
-บริษัท วีเอท อินเตอร์เทรดดิ้ง จังหวัดกำแพงเพชร เสนอราคาประมูลที่ 64.01 ล้านบาท
-บริษัท ธนสรร ไรซ์ จังหวัดชัยนาท เสนอราคาประมูลที่ 60.4 ล้านบาท
-บริษัท สหธัญ จังหวัดนครปฐม ยื่นประมูลในราคา 62.7 ล้านบาท
-บริษัท บีเอ็นเค การเกษตร 2024 จังหวัดนครสวรรค์ เสนอราคาประมูลที่ 53.7 ล้านบาท
-บริษัท เอส.เอส.เอ็ม.อา.การเกษตร จังหวัดนครสวรรค์ เสนอราคาประมูลที่ 56.08 ล้านบาท
-บริษัท ทรัพย์แสงทอง ไรซ์ จากจังหวัดสุพรรณบุรี เสนอราคาประมูลที่ 40.9 ล้านบาท

 

 

 

 

ขณะที่คลังสินค้ากลางกิตติชัย หลัง 2 ปริมาณรวม 11,656 ตัน มีผู้ยื่นซองเสนอราคา จำนวน 4 ราย ได้แก่

 

 

 

-บริษัท วีเอท อินเตอร์เทรดดิ้ง จังหวัดกำแพงเพชร เสนอราคาประมูลที่ 222.2 ล้านบาท
-บริษัท ธนสรร ไรซ์ จังหวัดชัยนาท เสนอราคาประมูลที่ 209.8 ล้านบาท
-บริษัท บีเอ็นเค การเกษตร 2024 จังหวัดนครสวรรค์ เสนอราคาประมูลที่ 186.5 ล้านบาท
-บริษัท ทรัพย์แสงทอง สุพรรณบุรี เสนอราคาประมูลที่ 182.04 ล้านบาท

สำหรับผู้ที่เสนอราคาสูงสุดทั้ง 2 คลัง คือ บริษัท วีเอท อินเตอร์เทรดดิ้ง จังหวัดกำแพงเพชร รวมราคาประมูลทั้ง 2 คลัง กว่า 286 ล้านบาท

 

 

ทั้งนี้หากคำนวณแล้วจะเฉลี่ยประมูลไปในราคากิโลกรัมละ 19 บาท โดยทางคณะทำงานรับ-เปิดซองและต่อรองราคาข้าวในสต็อกของรัฐ ได้ต่อรองราคา เพื่อให้ได้ราคาประมูลที่สูงขึ้นอีก และจะประกาศชื่อบริษัทที่ชนะการประมูล ผ่านเว็บไซต์ อคส. ไม่เกินวันที่ 21 มิถุนายนนี้ ซึ่งกำหนดต้องทำสัญญาซื้อขายภายใน 15 วันนับตั้งแต่ อคส.แจ้งผลเป็นทางการ หากไม่มาทำสัญญาตามเวลาที่กำหนด จะถูกริบหลักประกันทั้งหมด และหากผู้ซื้อทิ้งสัญญา อคส.จะเจรจากับผู้เสนอซื้อสูงสุดในลำดับถัดไป โดยผู้ทิ้งสัญญาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อกับราคาที่จำหน่ายได้ ให้ อคส.

 

ทั้งนี้บริษัทที่ชนะการประมูล จะต้องชำระเงินค่าสินค้าก่อนรับมอบข้าวสาร โดยชำระครั้งแรกภายใน 20 วัน นับจากวันที่ลงนามสัญญา หากฝ่าฝืนจะถูกริบหลักประกัน ส่วนการรับมอบข้าวนั้นกรณีปริมาณข้าวสารไม่เกิน 1 หมื่นตัน จะต้องรับมอบและขนย้ายให้เสร็จสิ้นภายใน 20 วัน นับจากวันทำสัญญา ส่วนปริมาณที่เกิน 1 หมื่นตัน แต่ไม่เกิน 2 หมื่นตัน ผู้ชนะการประมูลจะต้องรับมอบและขนย้ายให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันทำสัญญา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น