อันตรายมาก “ไข้เลือดออก” จ.สกลนคร ระบาดหนัก พบผู้ป่วยพุ่งสูงเกือบร้อยราย

อันตรายมาก "ไข้เลือดออก" จ.สกลนคร ระบาดหนัก พบผู้ป่วยพุ่งสูงเกือบร้อยราย

Top news รายงาน วันที่ 17 มิ.ย.67 สถานการณ์ไข้เลือดออกเริ่มน่าห่วง ที่จังหวัดสกลนคร มี 18 อำเภอ พบผู้ป่วยสะสมแล้ว 93 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8.12 ต่อประชากรแสนคน ยังไม่มีผู้เสียชีวิต และข้อมูลล่าสุด ระหว่าง 12 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2567 เป็นรอบสัปดาห์ที่ 23 ของ ปี 2567 พบผู้ป่วย 22 ราย พื้นที่ระบาดอยู่ที่ อ.เมืองสกลนคร จำนวน 5 ราย / อ.ภูพาน 6 ราย / อ.นิคมน้ำอูน 9 ราย/ อ.เจริญศิลป์ 1 ราย/ และพื้นที่เสี่ยง คือ อ.พรรณนานิคม ผู้ป่วย 1 ราย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่นางบุษบา วงศ์เตชะ อายุ 52 ปี ประธาน อสม.บ.หนองยาง ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร นำ อสม.หมู่บ้าน ขับจักรยานยนต์ตระเวนนำทรายอะเบทไปมอบให้ชาวบ้านถึงหน้าบ้าน ตามวงรอบสัปดาห์ ครัวเรือนละ 10 ซอง ดำเนินการครอบคลุมแล้ว 400 เรือน โดยแจกทรายอะเบทไปแล้ว 1 พันซอง พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ และรณรงค์ให้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พลิกคว่ำภาชนะถ้วยชาม กระป๋อง ที่มีน้ำขังไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และนำทรายอะเบทไปหย่อนตามแหล่งน้ำขังรอบหมู่บ้าน

 

ไม่ควรละเลย ไข้เลือดออก จ.สกลนคร ระบาดหนัก พบผู้ป่วยพุ่งสูงเกือบร้อยราย

 

 

จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคฯ รายงานสถานการณ์การระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ตั้งวันที่ 1 ม.ค.67 – 12 มิ.ย.67 ประจำสัปดาห์การระบาด ที่ 23 มีผู้ป่วยสะสม 32,140 คน อัตราป่วย 48.28 ต่อประชากรแสนคน / ผู้เสียชีวิตทั่วประเทศ 34 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11

 

 

เมื่อเทียบจำนวนผู้ป่วย ปี 2567 กับ ปี 2566 เพิ่มขึ้น 1.3 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน พบยอดผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่ม อายุ 5 – 14 ปี มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 9,585 เสียชีวิตแล้ว 9 ราย ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังการระบาดทั่วประเทศ พร้อมขอความร่วมมือในการป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

 

สำหรับประชาชนหากมีอาการสงสัยโรคไข้เลือดออก เช่น มีอาการไข้สูงลอย ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีผื่นหรือมีจุดเลือดออกที่ลำตัว แขน ขา เป็นต้น ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ยาลดไข้ที่ปลอดภัยคือยาพาราเซตามอล ตามขนาดยาที่กำหนด ควรหลีกเลี่ยงยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค แอสไพริน รวมถึงยาชุด ซึ่งอาจมีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่นเลือดออกในทางเดินอาหารและยากต่อการรักษา ทั้งนี้หากรับประทานยาลดไข้หรือเช็ดตัวแล้ว ไข้ไม่ลดภายใน 1-2 วัน (นับจากวันที่เริ่มมีไข้) ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งโรคไข้เลือดออกหากได้รับการรักษาเร็วจะสามารถป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 

ไม่ควรละเลย ไข้เลือดออก จ.สกลนคร ระบาดหนัก พบผู้ป่วยพุ่งสูง

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ซีพีเอฟ" พร้อมเคียงข้างสังคมในทุกวิกฤติ ระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
เปิดภาพเหล่าฮีโร่ 4 ขา สุนัขตำรวจ K-9 ผลัดเวรช่วยค้นหาผู้ประสบภัยตึกถล่ม
"ซีพี" ผนึกกำลังทุกกลุ่มธุรกิจ "ร้อยเรียงความดี" ระดมช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ร้อมส่งทีมซีพีอาสาฯ หนุนพื้นที่วิกฤตเร่งด่วน
กทพ. แจ้งทางด่วนทุกสาย เปิดบริการตามปกติ ยกเว้นทางขึ้น-ลงดินแดง
เตรียมพบแสดงดนตรีนานาชาติ 6 ชาติ "เมืองเหน่อ เฟสติวัล" สุพรรณบุรี 5-7 เม.ย.68
"ในหลวง" ทรงรับผู้บาดเจ็บ จากเหตุแผ่นดินไหว ไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
"ออมสิน" เร่งช่วยเหลือผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว “พักจ่ายต้น ลดดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน” และมอบสินเชื่อฉุกเฉินซ่อมบ้าน
นาทีชีวิต แพทย์ทำคลอดที่ "วังพญาไท" หลังรพ.พระมงกุฎเกล้าฯ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย เหตุแผ่นดินไหว
"นฤมล" นำทีมสส. สมาชิกพรรค "กล้าธรรม" ส่งกำลังใจถึงผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหว "ธรรมนัส" มั่นใจศักยภาพพาเกษตรกรพ้นยากจน
"นายกฯ" ขึ้นรถไฟฟ้าตระเวนกรุงฯ สร้างมั่นใจต่างชาติเที่ยวไทย เตรียมแผนเยียวยาผู้ประสบภัย ข้องใจตึกสตง.สร้างใหม่ถล่มแห่งเดียว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น