เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.67 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟ กฟส.นครราชสีมา และห้องศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟ ชั้น 3 อาคาร 2(SCADA) สำนักงาน กฟฉ.3 นายจรูญศักดิ์ นาคคล้าย ผู้ช่วยผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จ.นครราชสีมา ประธาน พร้อมด้วย ดร.มนูญ ใจซื่อ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นายอุดม คำจริง ผู้จัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา นายมานะ เพ็ชรตะกั่ว ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดการฝึกซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประจำปี 2567 โดยจำลองเหตุการณ์ รถยนต์ชนเสาไฟฟ้า 115 kv พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมอย่างพร้อมเพียง
ข่าวที่น่าสนใจ
นายจรูญศักดิ์ นาคคล้าย ผู้ช่วยผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จ.นครราชสีมา เผยว่า การฝึกซ้อมแผนดังกล่าว เป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และลูกค้ารายสำคัญในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในการตรวจสอบความพร้อมของระบบต่าง ๆ ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และใช้งานได้ 100% สามารถรองรับเหตุการณ์ในภาวะวิกฤต ด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ซักซ้อม ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร นอกจากนี้ ในการฝึกซ้อมแผนฯ ERP/BCP ตามระบบ BCMS จึงต้องมีการทดสอบค่าระยะเวลาเป้าหมายในการฟื้นคืนสภาพ (RTO) และระดับที่ยอมรับขั้นต่ำ (MAC) ของกระบวนงานหลัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า และประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายสำคัญให้มีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ และระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีความมั่นคง จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สำหรับ การฝึกซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นการเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน โดยการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (ERP) แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) และแผนฟื้นฟู (RP) เป็นไปตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA BCMS) ที่กำหนดให้มีการฝึกซ้อมแผน BCP เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2567 กฟฉ.3 ได้กำหนดให้มีการฝึกซ้อมแผน BCP โดยจำลองเหตุการณ์ “รถยนต์ชนเสาไฟฟ้า 115 kV. ในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาเมืองนครราชสีมา” และมีการกำหนดจุดเกิดเหตุ บริเวณหน้าร้านเชิดชัยวิบูลย์กิจ ทุ่งสว่าง ส่งผลให้ เสาไฟฟ้า 115 kV. ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ จำนวน 3 ต้น ทำให้เกิดเหตุกระแสไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง เพื่อให้พนักงานศูนย์สั่งการ ทบทวนขั้นตอนการทำงานเชิงป้องกัน เมื่อจะมีภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น และสามารถตรวจสอบความพร้อมของระบบต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และสามารถใช้งานได้ 100 %
ข่าวที่เกี่ยวข้อง